วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ความหมายของคอมพิวเตอร์ และฮาร์ดแวร์


            ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
 1. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่พบใน Case ได้แก่
                    1.1 Power Supply
                    1.2 Mainboard และ ฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งหรือเป็นส่วนหนึ่งของ Mainboard ที่สำคัญ ได้แก่
                                1.2.1 CPU                                                                         
                                

                                1.2.2 RAM         

                       
                               1.2.3 Expansion Slots                     
                               

                                1.2.4 Ports
                                

                   

                    1.3 Hard Disk
                    1.4 Floppy Disk Drive
                    1.5 CD-ROM Drive
                    1.6 DVD-ROM Drive
                    1.7 Sound Card
                    1.8 Network Card
          

  2. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่อยู่นอก Case ที่สำคัญได้แก่
                    2.1 Keyboard
                    2.2 Monitor
                    2.3 Mouse
                    2.4 Printer
                    2.5 Scanner
                    2.6 Digital Camera
                    2.7 Modem
                    2.8 UPS
เคส (Case)
       คือ ส่วนที่เป็นกล่องหรือตัวถังสำหรับบรรจุแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ตัวจ่ายไฟและอุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ให้เป็นระเบียบ เพื่อป้องกันการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า และป้องกันอุปกรณ์ภายในไม่เสียหายจากแมลง หรือฝุ่นละอองต่างๆ เคสที่ดีไม่ใช่แค่สวยงามเท่านั้น แต่ต้องออกแบบให้ระบายความร้อนได้ดีอีกด้วย 
ปัจจุบัน Case มี 2 แบบ คือ แบบนอน (เรียกว่า Desktop ) และ แบบตั้ง (Tower)
          Case แบบนอน สามารถนำจอภาพมาตั้งไว้ข้างบนได้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีเนื้อที่จำกัดที่จะวางเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีข้อเสียที่ภายในมีเนื้อที่จำกัด อาจเป็นอุปสรรค์เมื่อต้องการเพิ่มฮาร์ดแวร์ภายหลัง อย่างไรก็ตาม Case แบบนอนบางยี่ห้ออาจออกแบบมาดีจนเรื่องนี้ไม่ใช่อุปสรรคก็ได้
            Case แบบตั้ง เปลืองเนื้อที่กว่า เพราะไม่สามารถวางจอภาพไว้ข้างบนได้ แต่มีข้อได้เปรียบ Case แบบนอน คือเนื้อที่ข้างในมากกว่า จึงเพิ่มฮาร์ดแวร์ได้มากชิ้นกว่า แต่อย่างที่กล่าวแล้วข้างบน ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการออกแบบ Case แบบตั้งหากออกแบบไม่ดี อาจมีเนื้อที่เหลือให้เพิ่มฮาร์ดแวร์น้อยกว่าแบบนอนก็ได้



องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
  •      คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า "ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น


2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ

3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ

4. บุคคลากร (Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก เราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator)
- บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System)
- ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing Manager)
- ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer user)

5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน



                                                     การทำงานของคอมพิวเตอร์

  • เครื่องคอมพิวเตอร์มีขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอน คือ

1. รับโปรแกรมและข้อมูล โปรแกรมในที่นี้ หมายถึง ชุดของคำสั่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ส่วนข้อมูล อาจเป็นตัวเลขหรือตัวหนังสือก็ได้ ที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล

2. การประมวลผล หมายถึง การจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งทำได้โดยการคำนวณ
เปรียบเทียบ วิเคราะห์โดยใช้สูตรทางวิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ โดยอาศัยคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น

3. แสดงผลลัพธ์ คือ การนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเสร็จเรียบร้อย แสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้ใช้เข้าใจ และนำไปใช้ประโยชน์ได้
ขั้นตอนทั้ง 3 แสดงได้ด้วยแผนภาพดังนี้



ฮาร์ดแวร์ภายในคอมพิวเตอร์



      1.   ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึงโครงสร้างของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้ เช่น คีย์บอร์ด เม้าส์ จอคอมพิวเตอร์ และตัวเครื่อง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่ช่วยเสริมให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้กว้าง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องดิจิไตส์เซอร์ ชุดมัลติมีเดีย อุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ ดังนั้น ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งตามหน้าที่การทำงานของเครื่องได้ดังนี้
1.1         หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse)  นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone),ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair

1.2  หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ

หน่วยประมวลผลกลาง (Processor) เป็นชิปเซตที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลภายใน ซึ่งประกอบด้วย ส่วนควบคุม (Control Unit : CU) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ ของระบบโดยส่งสัญญาณควบคุมผ่านระบบบัส (Bus) ส่วนคำนวณและเปรียบเทียบ (Arithmatic and Logic Unit : ALU) มีหน้าที่หลักคือ การคำนวณและและเปรียบเทียบข้อมูลด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ และ ตรรกศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร และการตรวจสอบเงื่อนไข เก็บข้อมูลที่ได้จากการประมวลไว้ในส่วนที่เรียกว่า Register ปกติแล้วคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยประมวลผลเพียงชุดเดียว  ในกรณีของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียมซึ่งมีความละเอียดของข้อมูลสูง มีการประมวลผลตลอดเวลา และมีการทำงานของโปรแกรมพร้อมกันหลายโปรแกรม หน่วยประมวลผลเพียงชุดเดียวจึงอาจไม่เพียงพอ เพราะจะทำให้เครื่องประมวลผลหยุดการทำงานในขณะที่มีการประมวลผลหนักๆ การเลือกใช้คอมพิวเตอร์แบบมีหน่วยประมวลผล 2 ชุด (two-processor) เป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้การประมวลผลมีเสถียรภาพ โดยหน่วยประมวลผลสามารถทำงานในเวลาเดียวกันเป็นตัวสำรองซึ่งกันและกันเมื่อ CPU ตัวใดตัวหนึ่งหยุดทำงานอีกตัวหนึ่งจะทำงานแทนโดยอัตโนมัต

1.3  หน่วยความจำหลัก (Main Memory)  เราสามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้โดยอัตโนมัติโดยอาศัยชุดคำสั่งที่ป้อนสู่ระบบคอมพิวเตอร์จะเก็บคำสั่งเหล่านั้นไว้ในหน่วยความจำหลักเพื่อทำงานตามชุดคำสั่ง หน่วยความจำหลักประกอบด้วย หน่วยความจำแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory : ROM) ทำหน้าที่ในการเก็บชุดคำสั่งควบคุมการรับส่งข้อมูลพื้นฐาน คือ BIOS ซึ่งจะถูกกำหนดมาจากโรงงานผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์      หน่วยความจำส่วนนี้จะเก็บข้อมูลไว้ตลอดอายุการใช้งานของเครื่อง อีกประเภทหนึ่งเรียกว่า หน่วยความจำแบบชั่วคราว (Random Access Memory : RAM)หน่วยความจำส่วนนี้สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้ตลอดเวลา เป็นส่วนที่ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลเพื่อส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผล หลังจากคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลแล้วจะส่งข้อมูลกลับมาที่หน่วยความจำ ทำให้หน่วยความจำมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนย้ายข้อมูลเป็นจำนวนมาก เปรียบเสมือนหน่วยรับฝากข้อมูลแบบชั่วคราว ซึ่งจะถูกแทนที่ด้วยข้อมูลใหม่เสมอ ถ้าปิดเครื่องข้อมูลในหน่วยความจำส่วนนี้จะหายไปหมด   คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลดาวเทียม ในปัจจุบันควรจะเลือกใช้ RAM ชนิด ที่มี Parity SDRAM PC100 โดยมี RAM ไม่ต่ำกว่า 128 MB เนื่องจากข้อมูลดาวเทียมมีความละเอียดและความซับซ้อนในการประมวลผลหลายขั้นตอน กอปรกับโปรแกรมประมวลผลข้อมูลดาวเทียมมีขนาดใหญ่ และมีการต่อพ่วงอุปกรณ์อื่นๆ เช่นเทปอ่านข้อมูล สำหรับอ่านข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในหน่วยความจำ จึงทำให้ความต้องการหน่วยความจำหลักมีมากขึ้นและการประมวลผลแต่ละครั้งจะมีการใช้หน่วยความจำจะเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัว




    1.4  หน่วยบันทึกข้อมูล (Data Entry Unit)  เป็นสื่อในการเก็บข้อมูล และสามารถนำข้อมูลกลับประมวลผลใหม่ และบันทึกข้อมูลซ้ำได้หลายครั้ง ข้อมูลที่ถูกประมวลผลแล้วเก็บอยู่ในหน่วยความจำหลัก ถ้าปิดเครื่องข้อมูลเหล่านั้นจะหายไป จึงควรมีการบันทึกข้อมูลลงฮาร์ดดิสก์ อุปกรณ์ส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นทั้งหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผลข้อมูล (Input/Output Device) อุปกรณ์ที่จำเป็นในระบบงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้แก่
                     (1)   ฮาร์ดดิส (Hard Disk )  แผ่นจานแม่เหล็กเก็บข้อมูลชนิดแข็ง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่เชื่อมต่อภายในเครื่อง(Internal Hard Disk) และประเภทที่เชื่อมต่อภายนอก (External hard disk) ปัจจุบันได้มีการผลิตฮาร์ดดิสความจุตั้งแต่ 6 GB ขึ้นไป โดยมีมาตรฐานการเชื่อมต่อ IDE  SCSI และ USB ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลตามมาตรฐานแบบ SCSI จะมีประสิทธิภาพและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล การส่งผ่านข้อมูลได้ดีกว่า จึงเป็นที่นิยมใ ช้ในงานประมวลผลข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลจำนวนมากฮาร์ดดิสที่ผลิตในปัจจุบันได้แก่ Seagate, IBM, Maxtor, Quatum  



          1.5  หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit) ทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล เป็นส่วนที่เชื่อมความสัมพันธ์และโต้ตอบระว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ หน่วยแสดงผลที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ จอคอมพิวเตอร์ ให้ความละเอียดของการแสดงผลได้ดีกว่าการแสดงผลออกทางสิ่งพิมพ์ แต่เราไม่สามารถจับต้องได้เราเรียกว่า Softcopy ส่วนการแสดงผลออกทางสื่อสิ่งพิมพ์ เรียกว่า Hardcopy เช่น แผนที่ แผนภูมิต่างๆ จัดพิมพ์ในรูปกระดาษ หรือแผ่นฟิล์ม
                    (1)  จอคอมพิวเตอร์   จอคอมพิวเตอร์สำหรับงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียมควรใช้จอขนาดใหญ่ 20 นิ้วขึ้นไป หรือไม่ควรต่ำกว่า 17 นิ้ว มีหลอดภาพชนิด Trinitron ซึ่งให้ความคมชัดของภาพได้ดี และความละเอียดในการแสดงผล 1600x1200 จุด ทำให้สามารถแสดงผลภาพได้ดี

    (2)  เครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์ที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูลดาวเทียมมีด้วยกันหลายประเภท แต่ที่นิยมใช้กัน คือ เครื่องพิมพ์ชนิด Laser เครื่องพิมพ์ชนิด Ink Jet ซึ่งให้ความละเอียดในการพิมพ์สูงกว่า และพิมพ์ได้รวดเร็วกว่าเครื่องพิมพ์ชนิด Dot matrix




ประเภทของคอมพิวเตอร์


  • ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่งตามลักษณะของข้อมูล ได้ 3 ประเภท คือ

1. อนาลอกคอมพิวเตอร์ (Analog Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อใช้กับงานเฉพาะด้าน มีการทำงานโดยใช้หลักในการวัด มีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าเป็นหลักในการคำนวณ และการรับข้อมูลจะรับในลักษณะของปริมาณที่มีค่าต่อเนื่อง ส่วนการรับข้อมูลสามารถรับข้อมูลได้โดยตรงจากแหล่งเกิดข้อมูล แล้วแสดงผลออกมาทางจอภาพ หรืออ่านค่าได้จากเครื่องวัดและแทนค่าเป็นอุณหภูมิ ความเร็ว หรือความดัน มีความละเอียดและสามารถคำนวณได้น้อยกว่าดิจิทัลคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากเหมือนกับดิจิทัลคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครื่องที่ใช้วัดปริมาณทางฟิสิกส์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาในรูปของกราฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรวจสภาพอากาศ และที่ใช้ในวงการแพทย์ เช่น เครื่องตรวจวัดสายตา ตรวจวัดคลื่นสมองและการเต้นของหัวใจ เป็นต้น



2. ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยใช้หลักในการคำนวณแบบลูกคิด หรือหลักการนับ และทำงานกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง ลักษณะการคำนวณจะแปลงเลขเลขฐานสิบก่อน แล้วจึงประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสอง แล้วให้ผลลัพธ์ออกมาอยู่ในรูปของตัวเลข ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงให้ผู้ใช้เข้าใจง่าย มีความสามารถในการคำนวณและมีความแม่นยำมากกว่าอนาลอกคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากจึงต้องใช้สื่อในการบันทึกข้อมูล เช่น จานแม่เหล็ก และเทปแม่เหล็ก เป็นต้น เนื่องจากดิจิทัลคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ เป็นมาตรฐานเดียวกันและใช้กับงานได้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทำให้ดิจิทัลคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาให้สามารถทำงานได้เหมาะสมกับสภาพงานทั่วไป เช่น งานพิมพ์เอกสาร งานคำนวณ งานวิจัยเปรียบเทียบค่าทางสถิติ งานบันทึกนัดหมาย งานส่งข้อความในรูปเอกสาร ภาพและเสียง ตลอดจนงานกราฟิกเพื่อนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้


3. ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานเฉพาะด้าน มีประสิทธิภาพสูงและสามารถทำงานที่ซับซ้อนได้ เนื่องจากการนำเทคนิคการทำงานของอนาลอกคอมพิวเตอร์และดิจิทัลคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกัน เช่น การส่งยานอวกาศขององค์การนาซา จะใช้เทคนิคของอนาลอกคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการหมุนของตัวยานอวกาศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความกดดันอากาศ อุณหภูมิ ความเร็ว และใช้เทคนิคของดิจิทัลคอมพิวเตอร์ในการคำนวณระยะทางจากพื้นผิวโลก เป็นต้น


  • ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่งตามสมรรถนะ ขนาดและราคา ได้ 5 ประเภท คือ

1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด รุ่นแรก สร้างในปี ค.ศ. 1960 ที่องค์การทหารของสหรัฐอเมริกา สร้างสามารถประมวลผลได้กว่า 100 ล้านคำสั่งต่อวินาที จึงทำให้ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง มีราคาแพงที่สุด เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องคำนวณตัวเลขจำนวนมหาศาล ให้เสร็จภายในระยะเวลาอันสั้น โดยต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและปราศจากฝุ่นละออง มักใช้กับองค์กรที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น เนื่องจากสามารถรองรับการใช้งานของผู้ใช้จำนวนมากพร้อม ๆ กันได้ เรียกว่า มัลติโปรเซสซิ่ง (Multiprocessing) อันเป็นการใช้หน่วยประมวลผลหลายตัว เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงานพร้อม ๆ กันได้ จึงนิยมใช้กับงานที่การคำนวณที่ซับซ้อน เช่น การพยากรณ์อากาศ การทดสอบทางอวกาศ การคำนวณทางวิทยาศาสตร์ การบิน อุตสาหกรรมน้ำมัน ตลอดจนการวิจัยในห้องปฏิบัติการ ทั้งของภาครัฐบาลและเอกชน เป็นต้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีในปัจจุบันได้แก่ Cray Supercomputer




2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มีความเร็วในการประมวลผลสูงรองลงมาจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ต้องอยู่ในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิและปราศจากฝุ่นละออง และได้รับการพัฒนาให้มีหน่วยประมวลผลหลายหน่วยทำงานพร้อม ๆ กันเช่นเดียวกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่มีจำนวนหน่วยประมวลผลที่น้อยกว่า จึงทำให้สามารถประมวลผลคำสั่งได้หลายสิบล้านคำสั่งต่อวินาที ระบบคอมพิวเตอร์ของเครื่องเมนเฟรมส่วนมากจะมีระบบคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ประกอบอยู่ด้วย เพื่อช่วยในการทำงานบางประเภทให้กับเครื่องหลัก มีราคาแพงมาก (แต่น้อยกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์) เหมาะกับงานที่มีข้อมูลที่มีปริมาณมากต้องประมวลผลพร้อมกันโดยผู้ใช้นับพันคน (Multi-user) ใช้กับองค์กรใหญ่ ๆ ทั่วไป เช่น งานด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ การควบคุมระบบเครือข่าย งานพัฒนาระบบ งานด้านธุรกิจ ธนาคาร งานสำมะโนประชากร งานสายการบิน งานประกันชีวิต และมหาวิทยาลัย เป็นต้น


3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดกลางที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่าเมนเฟรม แต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้หลายร้อยคน (Multi-user) ในการทำงานที่แตกต่างกัน (Multi Programming) เช่นเดียวกับเครื่องเมนเฟรม แต่สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างเครื่องเมนเฟรมและเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ คือ ความเร็วในการทำงาน เนื่องจากมินิคอมพิวเตอร์ทำงานได้ช้ากว่า และควบคุมผู้ใช้งานต่าง ๆ ในจำนวนที่น้อยกว่า รวมทั้งสื่อที่เก็บข้อมูลมีความจุน้อยกว่าเมนเฟรม จึงเหมาะกับองค์กรขนาดกลาง เพราะมีราคาถูกกว่าเครื่องเมนเฟรมมาก ทำงานเฉพาะด้าน เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น ในสถานศึกษาต่าง ๆ และบางหน่วยงานของรัฐนิยมใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้



4. เวิร์คสเตชันคอมพิวเตอร์ (Workstation Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์เครือข่าย ซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลโปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์อื่น ๆ โดยการเชื่อมโยงกับเทอร์มินัล (Terminal) หลาย ๆ เครื่อง อีกทั้งได้ถูกออกแบบมาให้มีความสามารถในการคำนวณด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรืองานอื่น ๆ ที่เน้นการแสดงผลด้านกราฟิก เช่น การนำมาช่วยออกแบบภาพกราฟิกที่มีความละเอียดสูง ทำให้เวิร์คสเตชันใช้หน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงและมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจำนวนมากด้วย ผู้ใช้บางกลุ่มจะเรียกเครื่องระดับเวิร์คสเตชันนี้ว่า ซูเปอร์ไมโคร (Supermicro) เพราะถูกออกแบบให้ใช้งานแบบตั้งโต๊ะ แต่ชิปที่ใช้ทำงานนั้นแตกต่างกันมาก เนื่องจากเวิร์คสเตชันส่วนมากใช้ชิปที่ลดจำนวนคำสั่งที่สามารถใช้สั่งงานให้เหลือเฉพาะที่จำเป็น เพื่อให้สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูง


5. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูกสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ PC) เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ได้ดังนี้
คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูกสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ PC) มีการพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1975 ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอันมาก เมื่อ IBM ได้สร้างเครื่อง IBM PC ออกมา ซึ่งความแตกต่างระหว่างเวิร์คสเตชันคอมพิวเตอร์ และไมโครคอมพิวเตอร์ได้ลดน้อยลงเรื่อย ๆ เนื่องจากเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ระดับสูงในปัจจุบันมีประสิทธิภาพ และมีความเร็วในการแสดงผลที่ดีกว่าเวิร์คสเตชันคอมพิวเตอร์มาก สามารถใช้งานโดยใช้คนเดียว (Stand-alone) หรือเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเพื่อติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ จากการที่เทคโนโลยีที่ก้าวนำสมัยทำให้ PC สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตติดต่อสื่อสารกับคนอื่นได้ทั่วโลก เหมาะกับงานทั่วไป เช่น การประมวลผลคำ (Word Processing) การคำนวณ (Spreadsheet) การบัญชี (Accounting) จัดทำสิ่งพิมพ์ (Desktop Publishing) และงานที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล เป็นต้น 



เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ได้ดังนี้
  • โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (Notebook Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก มี น้ำหนักเบาประมาณ 2-4 กิโลกรัม และบางกว่าแบบตั้งโต๊ะ สามารถพกพาไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้สะดวก โดยมีหน้าจอและคีย์บอร์ดติดกัน ส่วนเม้าส์ (Mouse) และลำโพงจะอยู่ติดกับตัวเครื่อง โดยสามารถหาอุปกรณ์ดังกล่าวติดตั้งภายนอกเพิ่มเติมก็ได้ มีเครื่องอ่านแผ่นดิสก์ (Floppy Disk Drive) และเครื่องอ่านแผ่นซีดีรอม (CD-ROM drive) และพัฒนาให้มีขนาดเล็กกว่าเดิมสามารถวางบนตักได้







เงื่อนไขการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์


                      เกือบทุกคนมีคอมพิวเตอร์ (พีซี) เป็นของตนเอง แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีพีซีที่ตรงกับความต้องการของตนเอง เนื่องจากพีซีเป็นสินค้าที่มีราคาค่อนข้างแพง การตัดสินใจซื้อที่ผิดพลาดอาจทำให้คุณได้เครื่องพีซี ที่เกินความจำเป็นหรือประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าความต้องการ

จากนี้เราจะกล่าวถึงสิ่งที่ควรทราบขณะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ ข้อมูลในการเลือกซื้อที่ถูกต้อง และความผิดพลาดที่มักพบกับผู้ซื้อรายใหม่

  • ราคาเทียบกับประสิทธิภาพ

คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีฟังก์ชั่นการทำงานและประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเห็นได้จากส่วนต่างราคาระหว่างคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและคอมพิวเตอร์ขั้นสูง ศึกษาความต้องการของคุณเพื่อให้ได้คอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อฮาร์ดแวร์ที่ไม่จำเป็นเพิ่มเติม เราสามารถช่วยคุณค้นหาพีซีที่เหมาะสำหรับคุณ ในขณะเดียวกันคอมพิวเตอร์ที่ลดราคามากเป็นพิเศษอาจมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอสำหรับความต้องการของคุณเช่นกัน เนื่องจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้มักเป็นรุ่นเก่าหรือใช้ส่วนประกอบราคาถูกหรือที่ล้าสมัย การจ่ายเงินมากกว่าจึงอาจทำให้คุณได้พีซีที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ามาก การเปรียบเทียบราคา การตรวจสอบส่วนประกอบต่างๆ และพิจารณาความต้องการของตนเองจะทำให้คุณได้พีซีที่ลงตัวทั้งในด้านราคาและประสิทธิภาพในการทำงาน

  • ส่วนประกอบต่อพ่วงและซอฟต์แวร์

คอมพิวเตอร์สำเร็จรูปส่วนใหญ่จำหน่ายพร้อมซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น ระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส เมาส์และแป้นพิมพ์ ตรวจสอบกับร้านค้าก่อนจัดซื้อเพื่อให้แน่ใจว่าคอมพิวเตอร์จำหน่ายพร้อมกับอุปกรณ์ต่อพ่วงใดบ้าง จัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นและกำหนดงบประมาณให้ชัดเจนตามให้สอดคล้องกับอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น เครื่องพิมพ์หรือสายต่อเสริมตามความเหมาะสม คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้จำหน่ายพร้อมกับแอพพลิเคชั่นสำนักงานติดตั้งสำเร็จ ซึ่งคุณควรคำนึงถึงข้อนี้ไว้ด้วย

  • ส่วนประกอบของเครื่อง

ส่วนประกอบต่างๆ จะต้องสามารถทำงานร่วมกันได้ การติดตั้งโปรเซสเซอร์รุ่นล่าสุดที่เร็วที่สุดโดยติดตั้ง RAM ไม่เพียงพออาจทำให้โปรแกรมทำงานช้ากว่าที่ควร ตรวจสอบว่าส่วนประกอบต่าง ๆ สามารถรองรับการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เคสบางแบบอาจอัพเกรดได้ยาก ศึกษาให้แน่ใจก่อนว่ากำลังเลือกซื้อสินค้าที่ต้องการจริงๆ และสามารถอัพเกรดได้ในอนาคตหรือไม่ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับส่วนประกอบต่าง ๆ

  • รองรับการทำงานในอนาคต

การรองรับการทำงานในอนาคตในที่นี้หมายถึงการจัดซื้อหรือประกอบคอมพิวเตอร์ที่สามารถเรียกใช้แอพพลิเคชั่นขั้นสูงในอนาคต โดยปกติคอมพิวเตอร์กลุ่มนี้จะมีราคาแพง ในระยะยาวขอแนะนำให้เลือกซื้อคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพคุ้มราคามากที่สุด ในระยะยาวคอมพิวเตอร์กลุ่มนี้จะคุ้มค่ามากกว่าการอัพเกรดทุก 6 เดือนหรือการต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่

พร้อมแนะนำคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับการใช้งานของคุณ อ่านบทวิจารณ์และเปรียบเทียบพีซีรุ่นต่าง ๆ เพื่อค้นหาคอมพิวเตอร์ที่ตรงกับความต้องการ




  •  การบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่คอมพิวเตอร์ของคุณจะทำงานได้ดีนั้นคืออย่างไร เช่น ในห้องคอมพิวเตอร์ของคุณควรจะมีอุณหภูมิสูงเท่าไร มีความชื้นไม่เกินเท่าไร ขีดจำกัดของการทำงานเป็นอย่างไร ระยะเวลาในการทำงานของเครื่องเป็นอย่างไร ดังนั้น ห้องทำงานด้านคอมพิวเตอร์จึงควรเป็นห้องปรับอากาศที่ปราศจากฝุ่นและ ความชื้น ซอฟแวร์ แผ่นดิสก์ที่เก็บซอฟแวร์ และไฟล์ข้อมูล หรือสารสนเทศนั้น อาจเสียหายได้ ถ้าหากว่า แผ่นดิสต์ได้รับการขีดข่วน ได้รับความร้อนสูง หรือตกกระทบกระแทกแรง ๆ สิ่งที่ทำ ลายซอฟแวร์ได้แก่ ความร้อน ความชื้น ฝุ่น ควัน และการฉีดสเปรย์พวกน้ำยาหรือน้ำหอม ต่าง ๆ เป็นต้น การทำความสะอาดระบบคอมพิวเตอร์
1. ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ ถ้าคุณจะทำความ สะอาดเครื่อง ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ 5 นาที ก่อนลงมือทำความสะอาด
2. อย่าใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ใช้ผ้าแห้งดีกว่า
3. อย่าใช้สบู่ น้ำยาทำความสะอาดใด ๆ กับคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ระบบของเครื่อง เกิดความเสียหาย
4. ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
5. ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ
6. ถ้าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่คู่มือแนะนำไว้เท่านั้น
7. ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์
8. ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใด ๆ ขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น